TEL : (+66)2524-0778-9 |

รู้หรือไม่หลังคาเมทัลชีท ที่วางขายตามท้องตลาดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร?

“รู้หรือไม่หลังคาเมทัลชีท ที่วางขายตามท้องตลาดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร?”

รู้หรือไม่หลังคาเมทัลชีท ที่วางขายตามท้องตลาดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร?

หลังคาเมทัลชีท หรือที่บางท่านอาจรู้จักในนามหลังคาเหล็ก เป็นแผ่นหลังคาที่ผลิตจากเหล็กแผ่นที่เคลือบโลหะผสมอลูมิเนียม (Aluminium) และสังกะสี (Zinc) โดยทำการขึ้นรูปจากแผ่นเหล็กเรียบเป็นรูปลอนหลากหลายแบบตามความต้องการ โดยเมทัลชีทมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อสภาพอากาศ แข็งแรง น้ำหนักเบาทำงานง่าย มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสี อายุการใช้งานยาวนาน

ดังที่ได้กล่าวข้างต้นว่าแผ่นหลังคาเมทัลชีทมีความสามารถในการทนทานต่อการเกิดสนิม แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผ่นหลังคาที่เรากำลังจะเลือกซื้อนั้น สามารททนทานต่อการเกิดสนิมได้มากเท่าใด

แผ่นเมทัลชีทเองก็มีการกำหนดมาตรฐานระดับในการเคลือบชั้นอลูมิเนียม (Aluminium) และสังกะสี (Zinc) โดยจะวัดจากปริมาณกรัมต่อตารางเมตรของแผ่นหลังคา เรียกว่า Coating Class ใช้หน่วยเป็นแกรม ยิ่งมีปริมาณต่อตารางเมตรมากจะยิ่งมีความทนทานที่สูงมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Coating Class AZ150 g/m2 คือมีปริมาณของสารเคลือ อลูมิเนียม และสังกะสี 150 กรัม ต่อตารางเมตร
ผู้ผลิตแผ่นเมทัลชีทบางราย จะมีการกำหนดการรับประกัน สารเคลือบป้องกันการเกิดสนิม โดยยิ่งมีค่า Coating Class สูง จะยิ่งมีการรับประกันที่ยาวนานยิ่งขึ้น แต่ในการเลือกใช้งานจริง ยิ่งปริมาณสารเคลือบสูง ก็จะมาพร้อมราคาที่สูงยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นทางที่ดีที่สุด ควรคำนึงถึงพื้นที่ภายนอก โครงสร้างอาคาร และลักษณะประเภทของอาคาร เพื่อให้แผ่นเมทัลชีทเหมาะสมกับการใช้งาน ไม่เสื่อมหรือเสียหายไว และเป็นการคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้บานปลายอีกด้วย

สกรูปลายสว่านโปรฟาส์ท ถูกพัฒนาออกมาให้เหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลายประเภท เนื่องจากการเจาะยืดวัสดุที่แตกต่างกันแต่ละประเภท ย่อมต้องการสกรูที่จะสามารถตอบโจทย์ที่แตกต่างกัน

เคยสงสัยไหม ว่าทำไมบ้านเราในตอนกลางวันหรือตอนเย็นถึงได้ร้อนอบอ้าวไม่ต่างจากอากาศภายนอกเลย ทั้ง ๆ ที่มีหลังคากันแดดแล้วแท้ ๆ คำตอบคือ หลังคาบ้านนั้นสามารถช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวอาคารได้ระดับหนึ่ง แต่ความร้อนที่สะสมในตัวกระเบื้องหลังคาจะสามารถแผ่เข้ามาใต้หลังคาและเข้าสู่ตัวอาคารได้

การยาแนวในงานก่อสร้างนั้น จุดประสงค์หลักจะเป็นการยาแนวเพื่อปิดรอยต่อ และป้องกันการรั่วซึมระหว่างวัสดุ โดยยาแนวจะมีหลากหลายชนิดเพื่อตอบสนองการใช้งานของช่าง ทั้งซิลิโคนยาแนว ยาแนวไฮบริดโพลิเมอร์ และยาแนวอะคริลิค

Go to Top