ปัจจุบันหลายๆท่านอาจคุ้นเคยกับคำว่า VOCs (วีโอซี) จากการพูดถึงในสังคมอย่างกว้างขวาง และโดยเฉพาะจากผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างในท้องตลาด แต่รู้หรือไม่ว่า VOCs ที่ว่ามานี้หมายความว่าอย่างไร ทำไมหลายๆผลิตภัณฑ์จึงได้ออกมาชูหัวข้อนี้ในการโฆษณา และมีความสำคัญอย่างไรที่เราควรตระหนักถึงผลกระทบที่เราจะได้รับจากสิ่งนี้

VOCs (Volatile Organic Compounds) เป็นสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติที่สามารถระเหยตัวเป็นไอได้ง่าย สามารถกระจายตัวในอากาศได้ในอุณหภูมิและความดันปกติ โดยจะมีองค์ประกอบของสารได้แก่ อะตอมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และมีองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ออกซิเจน ฟลูออไรด์ คลอไรด์ โบรไมด์ ซัลเฟอร์ และไนโตรเจน

ซึ่งโดยทั่วไปสารกลุ่มนี้จะพบได้จากหลายๆแหล่งที่มา เช่น สีรองพื้น สีทาบ้าน สีทาไม้ กาว โพลียูริเทน(พียู) ยาแนวสำหรับงานอุตสาหกรรม ตัวทำละลายต่างๆ

อันตรายจากสาร VOCs

สาร VOCs สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งจากทางการหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง และการกินหรือดื่มเข้าไป หากได้รับในปริมาณไม่มากจากการสูดดม จะทำให้เจ็บไข้ ไม่สบาย เจ็บคอ หายใจไม่สะดวก ระคายเคืองตา แก้วตา จมูก คอ ทรวงอก ไอ ปวดศรีษะ ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ซึมเศร้า

แต่หากได้รับเป็นปริมาณที่มากจะทำให้เกิดการทำลายระบบประสาทส่วนกลาง คือไปกดประสาทส่วนกลางทำให้หมดสติได้ทันที หรือในกรณีที่ได้รับสาร VOCs ปริมาณน้อย แต่ต่อเนื่องเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดปัญหาเรื้อรัง อาจทำให้เกิดมะเร็ง เกิดการเสื่อมของเนื้อเยื่ออวัยวะภายใน มีปัญหาต่อระบบพันธุกรรม ระบบฮอร์โมน โรคทางระบบสืบพันธุ์ เป็นหมัน ในหญิงที่ตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดการพิการของเด็กแรกเกิด

จากความรุนแรงของสาร VOCs จึงมีหน่วยงานที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับค่ามาตรฐานของสาร VOCs ถือเป็นมาตรฐานสำคัญ ในการวัดระดับคุณภาพของ “ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product)”

เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากสาร VOCs สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานการผลิต LEED (Leadership In Energy And Environmental Design) ซึ่งเป็นมาตรฐานการประเมินอาคารเขียว ที่เป็นยอมรับและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในระดับสากล ถูกพัฒนาโดยองค์กรของสหรัฐอเมริกา หรือมองหาผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า Low VOC เพื่อให้มั่นใจว่าเราเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารพิษ ที่จะส่งผลกับตัวเราและสิ่งแวดล้อม

สาร VOCs ที่พบในผลิตภัณฑ์ยาแนว

ดังที่กล่าวมาว่า VOCs สามารถพบได้จากหลากหลายแหล่งที่มา แต่มีอีกหนึ่งที่มาที่ใกล้ชิดกับเรามากๆนั่นคือยาแนวกลุ่มโพลี่ยูลิเทน หรือที่นิยมเรียกกันว่า พียู (PU) ถูกใช้งานในหลากหลายพื้นที่ เช่น รอยต่อคอนกรีต รอยต่อผนังสำเร็จรูป ขอบหน้าต่าง งานอะลูมิเนียม โดยที่ พียู (PU) จะมีสารประกอบไอโซไซยาเนท ที่จะค่อยๆกระจายตัวในที่อยู่อาศัย ซึ่งทำให้เป็นผลเสียทั้งกับผู้ใช้งาน และผู้อยู่อาศัยในระยะยาว

เดิมทียาแนวที่ใช้ในงานรอยต่อบ้านและอาคารนั้นนิยมใช้งานเพียงแค่กลุ่ม อะคริลิค ซิลิโคน และพียู ทำให้เมื่อต้องการงานรอยต่อที่ทนทาน เหนียวแน่น ทนต่อสภาพอากาศ และรังสียูวี ทำให้โพลี่ยูลิเทนเป็นยาแนวที่นิยมใช้ตลอดมานับแต่สมัยก่อน

แต่ด้วยความตระหนักถึงอันตรายของ VOCs หรือ Solvent ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ยาแนวนี้ ทำให้เกิดการคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาแนวชนิดใหม่ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และมี VOCs ต่ำ (Low VOCs) ที่มีชื่อว่า ไฮบริดซีลแลนต์ (Hybrid Sealant) ซึ่งมีคุณสมบัติที่พัฒนาให้ดียิ่งกว่าพียู โดยคงความทนทาน เหนียวแน่น ทนต่อสภาพอากาศ รังสียูวี สามารถทาสีทับได้ และยังเพิ่มคุณสมบัติความยืดหยุ่นที่ดีกว่า ไม่เกิดฟองอากาศในเนื้อ ไม่เสียรูป ไม่หดตัว

นอกจากนี้ การพัฒนายาแนวกลุ่มไฮบริดซีลแลนต์ (Hybrid Sealant) ได้มีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองการใช้งานมากมาย เช่น กาวตะปูชนิดไฮบริดซีลแลนต์ ที่สามารถแก้ปัญหาการกัดพื้นผิววัสดุของกาวตะปูชนิดเดิม ลดระยะเวลาในการแห้งตัวทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย เสร็จงานได้เร็ว และยังปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัย

เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐาน LEED หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และผู้อยู่อาศัย เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยาแนวและเคมีภัณฑ์คุณภาพสูงจาก ซีลเลกซ์ (Sealex)