เมื่อนึกถึงสิ่งที่ใช้สำหรับยึดของสองอย่างเข้าด้วยกัน เชื่อว่าสิ่งที่หลายๆคนคิดถึงเป็นอันดับแรกจะเป็น “กาว” เนื่องจากเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคนล้วนแต่เคยใช้มาก่อน แต่รู้หรือไม่ว่า “กาว” นั้นมีหลากหลายชนิดที่แตกต่างกันไปเพื่อตอบโจทย์การใช้งานแต่ละชนิด

 ซึ่งหากจะพูดถึงกาวทุกชนิดเลยอาจจะมีเยอะมากมายจนละลานตา วันนี้เลยจะขอจำกัดขอบเขตเป็นกาวชนิดต่างๆที่ถูกใช้ในงานก่อสร้าง โดยจะแบ่งออกมาเป็น 7 ชนิดที่นิยมใช้งานดังนี้

1. กาวร้อน (Super Glue)

เป็นกาวที่หลายๆ คนจะคุ้นเคยในการใช้เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีความสามารถในการยึดเกาะที่สูง โดยสามารถใช้งานได้ทันทีไม่ต้องผสม กาวร้อนมักจะถูกใช้กับงานที่ต้องการการยึดติดที่แห้งเร็ว แต่เนื้อกาวร้อนจะสามารถละลายเป็นกาวที่หลายๆ คนจะคุ้นเคยในการใช้เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีความสามารถในการยึดเกาะที่สูง โดยสามารถใช้งานได้ทันทีไม่ต้องผสมน้ำได้ ทำให้ไม่เหมาะกับการใช้งานกับพื้นผิวที่เปียกชื้น หรือต้อมสัมผัสกับน้ำ

2. กาวลาเท็กซ์

เป็นกาวอีกหนึ่งชนิดที่นิยมใช้มาก เนื่องจากสามารถใช้ได้ง่าย ใช้ติดงานเบาๆได้ดี และยังมีความยืดหยุ่นเล็กน้อยอีกด้วย นิยมนำมาใช้กับงานติดบัวฝ้า บัวผนัง งานไม้ และงานทั่วๆไป แต่กาวลาเท็กซ์จะใช้เวลาในการแห้งตัวที่ช้า หากวัสดุไม่มั่นคงก็อาจจะเลื่อนขณะติดตั้งได้

3. กาวอีพ็อกซี่

 เป็นกาวชนิดที่ต้องผสมเนื้อ 2 ส่วนผสมขยำเข้าด้วยกันก่อน แล้วจึงใช้ไม้หรือเกียงโป๊สีปาดลงพื้นผิวที่ต้องการยึด ทำให้การใช้งานค่อนข้างยากและต้องใช้อุปกรณ์ แต่เนื้อกาวอีพ็อกซี่เมื่อแห้งจะมีแรงยึดที่สูง และแข็งแรงมาก นิยมไปใช้กับวัสดุกลุ่ม ไม้ โลหะ กระเบื้อง แก้ว แต่จะไม่นิยมใช้กับกลุ่มพลาสติบางชนิด

4. กาวยาง/กาวเหลือง

 เป็นกาวชนิดที่มีเนื้อเหนียวข้น เหมาะสำหรับใช้กับวัสดุหลากหลายประเภท และยังสามารถใช้กับวัสดุที่มีรูพรุน จึงเป็นกาวที่ใช้อย่างแพร่หลาย โดยคุณสมบัติการยึดเกาะจะต่างกันไปตามเกรด นิยมใช้กับวัสดุจำพวก หนัง ยาง ผ้าใบ พีวีซี งานไม้ พลาสติก

5. กาวซีเมนต์

 เป็นกาวชนิดที่ถูกนำมาใช้ในการปูกระเบื้อแทนการใช้ปูนซีเมนต์ผสมทราย เนื่องจากการใช้งานที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว และยังมีคุณสมบัติในการยึดเกาะที่ดีกว่า โดยจะสามารถใช้ได้กับวัสดุชนิด กระเบื้อง แกรนิตโต้ โมเสกแก้ว

6. กาวตะปู

 เป็นกาวที่พัฒนาเพื่อใช้ยึดวัสดุเข้ากับผนังเพื่อทดแทนการตอกตะปูยึด หรือจากเจาะผนังฝังพุกที่หลายๆท่าอาจคุ้นเคย ทำให้ไม่ต้องเจาะรูไม่ทำให้ผนังเสียหาย แต่ยังคงได้คุณสมบัติในการยึดและการรับน้ำหนักที่ดี ปัจจุบันเป็นที่นิยมในการใช้งานก่อสร้างที่หลากหลาย ทั้งงานไม้ คิ้วบัว งานเอนกประสงค์ เนื่องจากสามารถใช้กับวัสดุได้หลายประเภท โดยจะมีที่นิยมใช้งานเป็น 2 สูตร ได้แก่ กาวตะปูสูตรน้ำมัน และกาวตะปูสูตรไฮบริดโพลีเมอร์

กาวตะปู ที่มีการนำมาใช้ในประเทศไทยเดิมที่จะเป็นสูตรน้ำมัน ถูกน้ำมาใช้ในงานเอนกประสงค์ โดยสามารถสังเกตุได้จากสีของเนื้อกาวที่จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน และจะมีกลิ่นที่เหม็นฉุน กาวตะปูสูตรน้ำมันจะไม่เหมาะกับการใช้งานกับวัสดุที่มีสารเคลือบผิว โดยมักจะถูกนำไปใช้งานผิดประเภทอย่างการติดตั้งกระจกเงา โดยสารระเหยในเนื้อกาวตะปูสูตรน้ำมันจะไปกัดกร่อนผิวเคลือบปรอทของกระจกเงาทำให้ด่าง

กาวตะปูชนิดไฮบริดโพลีเมอร์ เหมาะสำหรับการใช้งานเอนกประสงค์เช่นเดียวกับกาวตะปูสูตรน้ำมัน แต่จะมีเนื้อกาวที่ขาว และไร้กลิ่น เนื่องจากไม่มีการใช้สารระเหยตัวทำละลายในเนื้อ ทำให้สามารถใช้งานได้กับพื้นผิวที่มีสารเคลือบ ไม่กัดกระจกเงา และยังไม่เป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ โดยยังคงคุณสมบัติที่ยึดเกาะแน่น แห้งไว้