หลังคาเมทัลชีท PU กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เพราะเป็นหลังคาที่ติดตั้งได้ง่ายและป้องกันความร้อนได้ดี สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยว่า หลังคาเหล็ก หลังคาเมทัลชีท ฉนวนพียู มีกี่แบบ เลือกอะไรได้บ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาให้กันครับ

โฟม PU ที่ใช้สำหรับติดเป็นฉนวนของหลังคาเมทัลชีท PU

ทำความรู้จักฉนวน PU จริงๆแล้วคืออะไร ?

 โพลียูรีเทน หรือ พียู (PU)  คือสารประกอบชนิดหนึ่งของโพลิเมอร์สามารถนำมาดัดแปลงให้มีคุณลักษณะได้หลาย ๆ แบบ เช่น เป็นโฟมออ่อนมีความหนาแน่นต่ำใช้เป็นส่วนประกอบของ เตียง โซฟา เบาะรองนั่ง โฟมแข็งความหนา แน่นต่ำ และมีน้ำหนักเบา นิยมนำมาใช้มาทำฉนวนป้องกันความร้อน งานบุผนัง งานประกอบรถยนตร์หรืออื่น ๆ 

แผ่นหลังคาเมทัลชีท PU

  จุดเด่นของฉนวน PU ลักษณะของฉนวนที่ติดกับเมทัลชีทนั้น มีลักษณะเป็นโฟมแข็ง มีความหนาแน่นต่ำ นำมาตัดเข้ารูปกับแผ่นหลังคา จากนั้นแปะติดกับแผ่นหลังคาด้วยกาวและปิดทับผิวด้านล่างด้วยพลาสติกสะท้อนสีเงิน สีขาว สีดำ หรือลายไม้ สามารถลดอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 10-20 องศา มีน้ำหนักเบา ใช้โครงสร้างแปเหล็กความหนา 1.6 มม. ได้ (ออกแบบให้ประหยัดค่าโครงสร้างได้)

หลังคาเมทัลชีท PU ติดตั้งด้วยสกรู X-TITE STL 3 นิ้ว

วิธีการติดตั้ง
  การติดตั้งไม่ต่างไปจากหลังคาเหล็กทั่ว ๆ ไป เพราะมีน้ำหนักของโครงสร้างต่อตารางเมตร ต่างกันไม่ถึง 1 กก. ความยาวของสกรูที่เลือกใช้เริ่มต้น ที่ความยาว 3 นิ้วที่โปรไฟล์ลอน 760 การยิงสกรูให้ยิงสกรูทุกตัวที่บริเวณแปต้นและแปท้าย เพื่อป้องกันแรงลมที่จะยกแผ่นจนฉีกขาด ในระยะแปถัดไปสามารถยิงสกรู ลอนเว้นลอนได้

ตัวอย่างการติดตั้งแผ่นหลังคาเมทัลชีท PU
ตัวอย่างการติดตั้งแผ่นหลังคาเมทัลชีท PU

 ฉนวน PU ไม่สามารถเลือกรูปแบบได้มากมายอะไร ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นมามีคุณภาพใกล้เคียงกันหากจะเลือกซื้อให้เน้นจุดสำคัญที่แผ่นหลังคาเหล็กเพราะความทนทาน รูปทรงที่สวยงาม หรือ อายุการใช้งานนั้น ขึ้นกับคุณภาพของแผ่นหลังคาเหล็กทั้งสิ้น (อ่านบทความการเลือกแผ่นหลังคาเหล็กได้ที่นี่)

 ข้อควรระวัง การติดตั้งสามารถประหยัดค่าโครงสร้างได้ก็จริงอยู่แต่ต้องระวังการเลือกใช้เหล็กและสกรู หากเลือกใช้เหล็กที่มีความหนา 1.2-2.4 มม. ให้เลือกใช้สกรูฟิกซ์-เขียว X-Tite ในการติดตั้งเพราะได้รับการพิสูจน์อย่างแน่ชัดแล้วว่าสามารถยึดกับแปที่มีความหนาดังกล่าวได้แน่น ทำให้เพิ่มแรงกดที่มีต่อแผ่นหลังคา ป้องกันไม่ให้หลังคาขยายตัวจนเกิดเหตุการณ์สกรูถอย ส่งผลให้เกิดน้ำรั่วซึมตามมาภายหลังจากการติดตั้ง