4 ข้อต้องรู้ ก่อนเลือกกาวตะปู ดีอย่าง? ทำไม? ถึงควรมีไว้ติดบ้าน
กาวตะปู (No more nail Adhesive) กาวสำหรับใช้งานติดตั้งวัสดุต่าง ๆ โดยนำมาใช้งานทดแทนการตอกตะปู โดยกาวที่นำมาใช้งานในรูปแบบนี้จะมีแรงยึดเกาะที่สูง ติดแน่นตลอดอายุการใช้งานเหมือนการใช้งานตะปูตอกลงไปในวัสดุ จึงเรียกกาวชนิดนี้ว่า “กาวตะปู” หรือ “กาวพลังตะปู”
การที่มีกาวตะปูไว้ติดบ้านนั้นมีข้อดีมากมาย เพราะทำให้ไม่เสียเวลา เจาะผนัง เจาะกำแพง เพราะในปัจจุบันบ้านส่วนมากจะถูกก่อสร้างด้วยปูน หรือยิ่งไปกว่านั้นสร้างด้วยคอนกรีตสำเร็จ (ผนังพรีคาสต์ คอนกรีต)ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่ทำให้คอนกรีตเสียกำลัง การมีกาวตะปูเอาไว้ใช้งานจะช่วยให้การติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำได้อย่างง่ายดาย เช่น ตะขอแขวนผ้า ราวแขวนผ้าติดผนัง ไฟโซลาร์เซลส่องสว่าง ตู้รับจดหมาย ตู้ยา ที่แขวนกุญแจ
จากทั้งหมดที่เราได้เรียบเรียง พอจะเห็นภาพแล้วนะครับว่ากาวตะปู เหมาะอย่างมากกับการนำไปใช้ในงานก่อสร้าง เพราะให้ความคงทนถาวรและความสะดวกทดแทนการเจาะยึดได้อย่างดีลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับวัสดุได้ดีอีกด้วย
สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับกาวตะปูมีดังนี้
1. ส่วนผสม (Raw Material)
กาวตะปูเองมีอยู่หลายสูตรด้วยกันยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนคือสูตรน้ำมันกับสูตรไฮบริด โพลิเมอร์ ความแตกต่างก็คือสูตรน้ำมันมักจะมีราคาถูก โดยที่ยังคงความสามารถในการรับน้ำหนักได้ดี แต่ข้อเสียคือมีสาระเหยที่ส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจ และมีคุณสมบัติกัดกร่อนผิววัสดุ
2. ระยะเวลาการเซ็ตตัว
ระยะการเซ็ตตัวในการรับน้ำหนักสูงสุด ระยะเวลาการแห้งตัวถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากกับการใช้งาน เพราะงานจะเสร็จเร็ว เสร็จช้าขึ้นอยู่กับระยะเวลาแห้งตัวของกาว ลองคิดดูว่าหากเราใช้ตะปูในการทำงาน งานจะเสร็จเรียบร้อยทันทีที่ยิงตะปูลงไป แล้วก็จะติดแน่นอยู่อย่างนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะร่วงลงมาหรือไม่ แต่กาวตะปูนั้นการติดตั้งต้องอาศัยวัสดุค้ำยัน เพื่อตรึงวัตถุต่าง ๆ ให้อยู่กับที่ ชั่วคราวจนกว่ากาวจะเซ็ตตัวสมบูรณ์ ดังนั้นการนำไปใช้งานควรคำนึงถึงระยะเวลาที่ต้องการให้งานเสร็จเรียบร้อยด้วย
3. วิธีการใช้งานและวัสดุที่นำมาใช้งานร่วมกัน
กาวตะปูมักจะยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลาย ไม้ กระจก คอนกรีต เหล็ก พลาสติก (ยกเว้น วัสดุบางชนิดเช่น เทฟลอน ทองแดง) การนำไปใช้งานสามารถยิงเป็นเส้น หรือ ยิงเป็นก้อนซาลาเปา ขึ้นกับลักษณะรูปทรงของวัตถุ โดยวิธีการใช้งานควรทำความสะอาดพื้นผิวที่จะยิงกาว ด้วยผ้าหรือใช้แปรงขัดเช็ดคราบสกปรกต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อนเพื่อให้การยึดเกาะทำได้เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นหลังจากติดตั้งวัสดุเสร็จสิ้นต้องติดตั้งค้ำยัน เพื่อป้องกันการขยับของวัสดุก่อนที่กาวจะเซ็ตตัว
4. การรื้อถอน
หากมีความจำเป็นต้องการรื้อถอนหรือย้ายการติดตั้ง ให้ใช้คัตเตอร์ค่อยๆ ตัดเนื้อกาวให้หลุดออกจากกัน
จากทั้งหมดที่กล่าวมาพอจะเห็นภาพแล้วนะครับว่า “กาวตะปู” เหมาะอย่างมากกับการนำไปใช้ในงานก่อสร้าง เพราะให้ความคงทนถาวรและความสะดวกทดแทนการเจาะยึดได้อย่างดีลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับวัสดุได้ดีอีกด้วย